วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 14.10-17.30 ห้อง 432 อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับ...

       อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อ ( กลุ่ม ) หน้าชั้นเรียน สื่อชึ้นนี้สามารถเล่นได้จริง 



ชื่อสื่อ : พีชคณิต ปู๊น ปู๊น

วิธีการเล่น 
1. มีตัวอย่างอยู่แถวที่ 1 โดยให้เด็กนำรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมมาวางตามช่องด้านล่างที่ว่างไว้
2. โดยแต่ละแถวจะสลับช่องกันไป เพื่อให้เด็กได้สังเกตรูป
3. เมื่อติดตามช่องเรียบร้อย ก็ตรวจดูความเรียบร้อย

ประโยชน์ของสื่อชิ้นนี้
1. เด็กได้ฝึกการสังเกต
2. เด็กได้เรียนรู้เรื่องพีชคณิต
3. เด็กได้รู้เรื่องสี รูปทรง
4. เด็กได้ฝึกการนับ

สื่อที่ชื่นชอบ



เหตุผลที่ชื่นชอบ

1.  เป็นรูปภาพการ์ตูนทำให้รู้สึกดึงดูดความสนใจจากเด็ก
2. สีสัน สดใส น่ารัก
3. เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน 1 – 10

การนำความรู้ไปใช้...

1. ช่วยเร้าและกระตุ้นความสนใจ ของเด็กช่วยให้เรียนได้ง่าย รวดเร็ว และเพลิดเพลิน
2. สร้างโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
3.  ช่วยให้มีความทรงจำต่อสิ่งที่เรียนได้นาน และนำไปใช้ได้ดีกว่า
4.  เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องยากๆด้วยความง่ายดาย
5. เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง




ครั้งที่8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 14.10-17.30 ห้อง 432 อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

        อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 6 – 8 คน เขียนแผนกลุ่มเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การวัด น้ำหนัก เวลา เงิน เป็นต้น

กลุ่มดิฉันเขียนแผนใน เรื่องการวัดความยาว

บรรยากาศภายในห้อง






ภาพนี่เป็นตัวอย่างแผนของกลุ่มดิฉันค่ะ


การนำความรู้ไปใช้...

1. นำไปเขียนแผนการเรียนการสอนในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาการคิดและความคิดสร้างสรรค์



ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14.10-17.30 ห้อง 432 อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

กิจกรรมก่อนเรียน

       อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่มใหญ่ทำแผนภูมิแล้วส่งตัวแทนออกมา 1 คน จับฉลากว่าได้แผ่นภูมิชนิดไหนกลุ่มของดิฉันได้แผนภาพเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง จักรยานและจักรยานยนต์ พอทำเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอเพื่อนสมมติว่าตัวเองเป็นคุณครูและเพื่อนๆเป็นเด็ก

บรรยากาศภายในห้องเรียน







กิจกรรมท้ายคาบ

           อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มใหม่ 5-6 คน ทำสื่อเรื่องพีชคณิตซึ่งกลุ่มดิฉันทำเป็น รถไฟขนมหวานโดยเป็นพีชคณิตเรียงรูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ วงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมโดยจะใช้รูปคล้ายหรือเหมือน







การนำความรู้ไปใช้...

1.  การส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
2. เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
3. คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต



ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.10-17.30 น. ห้อง 432 อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

เด็กปฐมวัยรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-          ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
 - สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
 สาระที่ 2 : การวัด
-  สาระที่ 3 : เรขาคณิต
 - สาระที่ 4 : พีชคณิต
-  สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 - สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนทางการคณิตศาสตร์
       คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1. มีความคิดสร้างสรรค์ Mathematical Thinking
จำนวนนับ 1 ถึง 20 ( ขั้นต่ำเด็กต้องนับได้ )
เข้าใจหลักการนับ
รู้ค่าจำนวน
เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
รู้จักตัวเลขฮินดูอาโรบิกและตัวเลขไทย
การรวมและแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ ความเข้าใจ พื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
เปรียบเทียบ เรียงลำดับและวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ ความเข้าใจแบบรูปของที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น ( มี 7 ทักษะ )

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล  มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้  

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง 
สาระที่ 2 : การวัด 
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต 
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ  
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ 
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
ข้อมูลเพิ่มเติม

นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางการจัดทำคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546  ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่า  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้มี 4 ประการ ได้แก่ ผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทในการจัดสรรงบประมาณ จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เพียงพอ การบริหารประสานงาน วางแผนกำกับดูแล สร้างขวัญกำลังใจครูผู้สอน ส่งเสริมความสามารถของเด็กทุกด้าน วางนโยบายการนิเทศภายในให้ชัดเจน และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนรอบด้านอย่างยุติธรรม  ครูผู้สอน ซึ่งควรจะมีการพัฒนาความรู้ จัดกิจกรรมหลากหลาย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู  เด็ก ต้องมีความสนใจใฝ่รู้ ช่างสังเกต ซักถาม คาดเดา อธิบายเหตุผลของตนเอง สภาพแวดล้อม หรือความพร้อมของสถานศึกษา ห้องเรียน นอกจาก4 4 ปัจจัยดังกล่าวแล้วยังต้องการบทบาทการสนับสนุนจากผู้ปกครองด้วย

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ  3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้  
1.  มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม  
2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก  ปริมาตร และเวลา  สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา  สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว  น้ำหนัก และปริมาตร  สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน 
3. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน  และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4  ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 
2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก  ปริมาตร และเวลา  สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา  สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น  และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
3.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4.มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5  ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 
2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก  ปริมาตร และเวลา  สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา  สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น  และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
3. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4. มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวนความรู้พื้นฐาน  สอนเนื้อหาใหม่  สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ  นำความรู้ไปใช้  วัดและประเมินผล   ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ  การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น

ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ  ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น  นางเชอรี่ อยู่ดี กล่าว

นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป 
ทั้งนี้ สสวท. ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน  เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546  และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  

การนำความรู้ไปใช้...

1.  การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์
2. พัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน
3. คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว






วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.10 – 17.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน 17.30

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหัวข้อที่กลุ่มตัวเองได้รับมอบหมาย กลุ่มดิฉันได้ กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ค่ะ



กลุ่มของดิฉันเอง



กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด



กลุ่มที่ 3 เรื่องเรขาคณิต



กลุ่มที่ 4 เรื่องพีชคณิต



กลุ่มที่ 5 เรื่องการวิเคาระห์และความน่าจะเป็น




ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14.10 – 17.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับ ...

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าประกอบด้วย
1. การสังเกต
2. การจำแนกประเภท
3. การเปรียบเทียบ
4. การจัดลำดับ
5.การวัด
6.การนับ
7. รูปทรงและขนาด


ภาพตัวอย่าง การสังเกต



ภาพตัวอย่าง การจำแนกประเภท



ภาพตัวอย่าง การเปรียบเทียบ



ภาพตัวอย่าง การจัดลำดับ



ภาพตัวอย่าง การวัด



ภาพตัวอย่าง การนับ


กิจกรรมหลังเรียน ...

อาจารย์ให้วาดวงกลม 1 วงแล้วให้เขียนตัวเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม จากนั้นอาจารย์ให้ตัดกลีบดอกไม้ให้เท่ากับตัวลขที่เราเขียนในวงกลม มาแปะเป็นกลีบของดอกไม้ค่ะ

การนำเอาความรู้ไปใช้ ...

สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียนไปใช้ฝึกเด็กๆได้ในอนาคต