วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.10 – 17.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน 17.30

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหัวข้อที่กลุ่มตัวเองได้รับมอบหมาย กลุ่มดิฉันได้ กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ค่ะ



กลุ่มของดิฉันเอง



กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด



กลุ่มที่ 3 เรื่องเรขาคณิต



กลุ่มที่ 4 เรื่องพีชคณิต



กลุ่มที่ 5 เรื่องการวิเคาระห์และความน่าจะเป็น




ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14.10 – 17.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับ ...

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าประกอบด้วย
1. การสังเกต
2. การจำแนกประเภท
3. การเปรียบเทียบ
4. การจัดลำดับ
5.การวัด
6.การนับ
7. รูปทรงและขนาด


ภาพตัวอย่าง การสังเกต



ภาพตัวอย่าง การจำแนกประเภท



ภาพตัวอย่าง การเปรียบเทียบ



ภาพตัวอย่าง การจัดลำดับ



ภาพตัวอย่าง การวัด



ภาพตัวอย่าง การนับ


กิจกรรมหลังเรียน ...

อาจารย์ให้วาดวงกลม 1 วงแล้วให้เขียนตัวเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม จากนั้นอาจารย์ให้ตัดกลีบดอกไม้ให้เท่ากับตัวลขที่เราเขียนในวงกลม มาแปะเป็นกลีบของดอกไม้ค่ะ

การนำเอาความรู้ไปใช้ ...

สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียนไปใช้ฝึกเด็กๆได้ในอนาคต



ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14.10 – 17.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน 17.30

สาระและมาตรฐาน (10 คะแนน)
งามกลุ่มพร้อม present วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2556


1. จำนวนและการดำเนินการ (กลุ่มของดิฉัน)                                                                
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งของต่างๆในเชิงปริมาณโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข การคิดการคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิตหรทอแบบรูปความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น

ความสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
2. ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
4. เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดของ Pigget

1. ขั้นพัฒนาการด้านประสารทสัมผัส (Srnsorimotor Stage) แรกเกิด – 2 ปี
       -  เด็กเรียนรู้จากประสารทสัมผัสต่างๆ
       - สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2.  ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี
      - ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
      -  เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปร่าง และความยาว
      - เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นเช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย
      -  เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
      - ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลงทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้

การอนุรักษ์ (Conservation) เด็กจำเป็นต้องทดสอบก่อน

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
โดยการนับ
-  เรียงลำดับ
 จัดกลุ่ม
-  การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร



ตัวอย่างภาพที่ 1 เมื่อมีน้ำ 2 แก้วในปริมาณที่เท่ากัน เด็กเห็นก็บอกว่า น้ำ 2 แก้วนั้นเท่ากันแต่ถ้าเราเปลี่ยนน้ำแก้วที่ 2 นำไปใส่ภาชนะที่สูงกว่าดังรูปภาพที่ 2 นั้น เมื่อเด็กเห็นก็จะบอกว่าน้ำ 2 แก้วนี้มีความแตกต่างกันแสดงให้เห็นว่าเด็กเข้าใจแต่เพียงสิ่งที่เห็นเฉพาะหน้าไม่สามารถรับรู้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป

หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุหรือสื่ออุปกรณ์
 ผสมผสานคณิตสาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
-  ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-  ใช้คำถามปลายเปิด
-  เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านชีวิตประจำวัน

 ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กเอง ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เด็กใส่ เด็กก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว  

กิจรรมหลังเรียน

     อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น โดยบอกกติกาว่าต้องวาดสัตว์ชนิดใดก็ได้ที่มีขามากที่สุดและดิฉันได้วาดเจ้าปูน้อยสีแดง และเมื่อวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็บอกว่าให้วาดรองเท้าใส่ไปด้วย ซึ่งดีมากที่ปูของดิฉันมี 8 ขาไม่งั้นได้ตัดรองเท้าใส่ให้เยอะแน่ๆ  


การนำเอาความรู้ไปใช้

1. เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ และสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์
2.  เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
3.  เด็กได้ฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การลำดับ
4.  เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ความอยากรู้ และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
5.  เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง



ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14.10 – 17.30 น. ห้อง 432(จษ) อาคาร 4
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน 17.30

กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้ทำ My Map วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนเริ่มเรียนว่านักศึกษามีความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับวิชานี้อย่างไรบ้าง

การนำเอาความรู้ไปใช้...

1.             การเขียน Mind Map ช่วยในการจัดระเบียบความคิด ให้สามารถคิดได้ทั้งแบบ คิดกว้าง และคิดลึก
2.             ช่วยให้คนจดจำได้ ทบทวนได้ง่าย ไม่ลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป
3.             ช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจ และช่วยเหลือได้
4.             Mind Map เป็นการจดบันทึกโดยใช้ภาพ สี เส้น และสัญลักษณ์ ทำให้สามารถทบทวนสิ่งที่บันทึกลงไปได้ง่ายกว่าการจดบันทึกเป็นตัวอักษรล้วน ๆ
5.             หากสื่อสารโดยใช้ภาพ หรือสัญลักษณ์ไม่ได้ ก็ให้เขียนเป็นตัวหนังสือที่สั้นกระชับ